
Super User
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบ้านเช่า อาคาร ร้านค้า ตึกแถว บริษัท ธนาคาร โรงภาพยนตร์ แฟลต หอพัก คอนโดมิเนียม ร.ร.สอนวิชาชีพ โรงงานอุตสาหกรรม สนามมวย สนามกอล์ฟ ท่าเรือ บ่อนไก่ ฟาร์มสัตว์ คลังสินค้า และบริเวณที่ดินที่ปกติใช้ร่วมรับโรงเรือนนั้น โดยมีห้วงเวลาในการจัดเก็บประจำทุกวันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
- เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
- ถ้าค่าภาษีเกิน 9,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน
- ผู้รับการประเมินต้องชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน
อัตราค่าปรับ
- ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี
- ผู้ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์มีความผิดต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่ เกิน 5 ปี
- ถ้าชำระภาษีเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่ม ดังนี้
- ไม่เกิน 1 เดือน เสียเงินเพิ่ม 2.5% ของค่าภาษี
- เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่ม 5% ของค่าภาษี
- เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่ม 7.5%ของค่าภาษี
- เกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือนเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
- เกิน 4 เดือนขึ้นไปให้ยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้น โดยมีห้วงจัดเก็บประจำทุก ภาษีบำรุงท้องที่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี
อัตราภาษี
เสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ ได้โดยตรง ที่ดินว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่า ของอัตราปกติ
การอุทธรณ์การฟ้องศาล
- ยื่นอุทธรณ์ผ่านเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน
ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและการชำระภาษี
- ให้เจ้าของที่ดิน,ผู้ครอบครองที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ,ท.5) และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี
- ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบนับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์
อัตราโทษและค่าปรับ
- ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมิน
- ยื่นรายการไม่ถูกต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
- ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
- ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24% ต่อปี ของค่าภาษี
ภาษีป้าย
ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือโฆษณาหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น โดยมีห้วงเวลาการจัดเก็บประจำทุกวันที่ ภาษีป้าย 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี
อัตราภาษี
- ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับรูปภาพ หรือเครื่องหมายอื่นคิดอัตรา 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายดังต่อไปนี้คิดอัตรา 40 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
- ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
- ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้ว เสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
- ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่ติดตั้งใหม่ให้ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 15 วัน
- ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
- ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน
อัตราโทษและค่าปรับ
- ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน เดือนมีนาคมหรือหลังติดตั้งป้าย 15 วันเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้องทำให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
- ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือน ของค่าภาษีเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ใบอนุญาตกิจการประเภทต่างที่ต้องมีการควบคุม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และมาตรา 32, 54 และ 63 แห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ออกข้อบังคับไว้ให้กิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม
- กิจการที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่,หมู ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
- กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
- กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
- กิจการที่เกี่ยวกับการบริการเช่น ตู้เกมส์ ร้านเสริมสวย หอพัก ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอเช่นการเย็บผ้าด้วยเครื่องจักร ซักอบรีด ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับ หิน ดิน ทราย ซีเมนต์
- กิจการที่เกี่ยวกับยา
- กิจการที่เกี่ยวกับไม้
- กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี แก๊ส น้ำมัน เป็นต้น
เอกสารที่ต้องใช้ในการขออนุญาต
- บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาคาร
- เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควร เรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต
อัตราโทษและค่าปรับ
- ผู้ประกอบการค้ารายใด ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
- ไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาเสียค่าปรับเพิ่ม 20% ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการก่อนกำหนด การเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบังคับนี้
ติดต่อชำระภาษี
งานจัดเก็บรายได้ กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190. โทร. 045-953452 แฟกซ์ 045-953452 อีเมลล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
"ท้องถิ่นดี ภาษีช่วย ท้องถิ่นสวย ภาษีสร้าง"
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

นายธนศักดิ์ ชาญเฉลิม
ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข
และสิ่งแวดล้อม

นางนวลประกาย สุนนท์ชัย
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

นายจักรี พิณทอง
นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ

นายธนภัทร พิพัฒน์กุลศิริ
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน

นางสาววณิชชา พุทธานุ
พยาบาลวิชาชีพ

นายสืบพงษ์ หอมจำปา
พยาบาลวิชาชีพ

นายณัฐวัฒน์ จิรพลาธิวัฒน์
เจ้าพนักงาน ทันตสาธารณสุขชำนาญงาน

นายไสว พิมมะศรี
พนักงานประจำรถขยะ

นายบุญหลาย โสภี
พนักงานจ้างทั่วไป

นางสาวทิพวรรณ จูมพล
พนักงานจ้างทั่วไป

นางสาวจิราวรรณ ดอกพุฒ
พนักงานจ้างทั่วไป

นายทวี ศรีคะเณย์
พนักงานจ้างทั่วไป

นายพารี ขันธวัฒน์
พนักงานจ้างทั่วไป

นายอภิชัย ดอกพุฒ
พนักงานจ้างทั่วไป

นางสาวจิราพร เอี่ยมอำไพ
พนักงานจ้างทั่วไป

นางวาสนา สายทอง
พนักงานจ้างทั่วไป

นายอุลัย กำแก้ว
พนักงานจ้างทั่วไป

นายพันธ์ จูมมะณีย์
พนักงานจ้างทั่วไป

นายวิชัย ราษี
พนักงานจ้างทั่วไป

นายสมชาย แก้วอุดร
พนักงานจ้างทั่วไป

นางอำนวย มาลีสี
คนสวน
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนาเยียนั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาเทศบาลตำบลนาเยีย จะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เทศบาลตำบลนาเยียยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
นโยบายการบริหาร (Administrative Policy)
“สร้างคน สร้างงาน สร้างบ้าน สร้างสามัคคี”
เทศบาลตำบลนาเยีย กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ( และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง เพื่อแสดงถานการณ์ในอุดมคติ
“พัฒนาให้เป็นเมืองสงบน่าอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง
หลีกเลี่ยงการสร้างมลภาวะ ได้รับการศึกษาถ้วนหน้า”
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการพื้นฐานให้ได้มาตรฐานเพียงพอและทั่วถึง
- ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มอาชีพของชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข้งของชุมชน
- ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของสารเสพติด
- ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา
- ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
- สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- ด้านการพัฒนาการบริหารและการจัดการด้านสาธารณสุข
เป้าประสงค์ (goal)
- การคมนาคม สะดวกรวดเร็ว และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ
- ประชาชนมีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่มขึ้น และพอเพียงต่อการดำรงชีวิต
- เทศบาลหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน
- วัฒนธรรมองค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านคุณภาพการศึกษา สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ บริการ สังคม อนุรักษ์ประเพณีต่าง ๆ
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น
- สิ่งแวดล้อมไม่เกิดมลพิษ
- ประชาชนมีสุขาภาพดี
กองการศึกษา

นางสาวทรรศนีย์ นนธิจันทร์
ผู้อำนวยการกองการศึกษา

- ว่าง -
นักสันทนาการ (ปก./ชก.)

นางสาวชิดชนก เจริญ
เจ้าพนักงานธุรการ

นางเข็มขัน พันนวยนนต์
รักษาการ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลนาเยีย

นางทัศนา นามวี
ครู คศ.2

นางญาณิศา ศรีสุพรรณ
ครู คศ.2

นางสาวศิริพร ศรีสุพรรณ์
ครู คศ.2

นางหนูเพียร ศรีสุพรรณ์
ครู คศ.1

นางสาววิลาวรรณ คำภิเดช
ครู คศ.1

นางสาวอารีรัตน์ กิ่งคำ
ครู คศ.1

นางกาญจนา คำลุน
ครู คศ.1

นายบดินทร์ บัวจันทร์
ผู้ช่วยนักสันทนาการ

นายเจษฎากร กุลบุตร
พนักงานจ้างทั่วไป

นางสาวจรัญญา ศรีโคตร
ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ)

นางสาวสมรักษ์ นีระมนต์
ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ)

นางสาวศรัณญา นีระมนต์นาง
ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ)

นางสาวอนุธิดา สายทอง
ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ)

นางสาววลีพร อาษา
ผู้ดูแลเด็ก(ทั่วไป)

สาวปภัสรา แก้วเหนือ
ผู้ดูแลเด็ก(ทั่วไป)

นางสาวละอองดาว ดอกจันทร์
ผู้ดูแลเด็ก(ทั่วไป)
กองช่าง

นายสุริยา ปลัดอิ่มพะเนาว์
ผู้อำนวยการกองช่าง

- ว่าง -
หัวหน้าฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง

นายปัณณวัฒน์ ประจันทร์
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

นางสาวภคอร คงคะพันธ์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายอภิเชษฐ์ พิลาสันต์
ผู้ช่วยนายช่างไฟฟ้า

นางสาวอัษฎาพร จันทร์พันธ์
ผู้ช่วยนายช่างโยธา

นางสาวพัชราภรณ์ นีระมนต์
ผู้ช่วยนักวิชาการสวนสาธารณะ

นายปิยวัฒน์ สินศิริ
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานประปา

นางสาวนัทชา นีระมนต์
พนักงานจ้างทั่วไป

นายสมัย แสงงาม
พนักงานจ้างทั่วไป

นายทศพล คำมั่น
พนักงานจ้างทั่วไป

นายสุขสันต์ นีระมนต์
พนักงานจ้างทั่วไป

นายบุญเพ็ง ศรีโภชน์
พนักงานจ้างทั่วไป

นายสถาพร ทองสินทร์
พนักงานจ้างทั่วไป

นายบุญจันทร์ นีระมนต์
พนักงานจ้างทั่วไป

นายไกรรงค์ อาชญาทา
พนักงานจ้างทั่วไป

นายณัฐวุฒิ ศรีสุพรรณ์
พนักงานจ้างทั่วไป
กองคลัง

นางรัตนพร จีรดิษฐ
ผู้อำนวยการกองคลัง

นางสาวอัฉราพร ลาภา
นักวิชาการจัดเก็บรายได้ชำนาญการ

นางสาวลดาวัลย์ ประทุมมา
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน

นางสาวอรอุมา อุส่าห์แท้
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

นางสาววิภาดา พิลาสันต์
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ

นางสาวชนากาญจน์ วงษ์ศรี
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
สำนักปลัดเทศบาล

นายชาตรี นามวงศ์
หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล

นางสาวณภาดา บุญยืน
หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ

นางสาวนงค์รักษ์ นีระมนต์
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นายสายันต์ แสงประสาร
นิติกรชำนาญการ

นางสาวชนิสรา สีสันต์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

นางสาวดุษฏี ราชขันธ์
นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ

นางสาวณัฐธิดา อุ่นใจ
นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ

นางสาวศศิกร นีระมนต์
นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

นายจำเนียร คงนิล
เจ้าพนักงานทะเบียนชำนาญงาน

นายพงษ์ภัทร อาษา
เจ้าพนักงานป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัยชำนาญงาน

นายวิจิตร นีระมนต์
พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา

นางสาวรจนา พิลาสันต์
ผู้ช่วยนักทรัพยากรบุคคล

นางสาวกรรณิกา พันจร
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ

นางสาวอุบลรัตน์ พิลาสันต์
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ

นายณัท จูมณีย์
พนักงานขับรถยนต์

นายวีระพล มาลีสี
พนักงานขับรถยนต์

นายโมทะนา แก้วอุดร
พนักงานขับรถยนต์

นายแสงจันทร์ ขันทอง
พนักงานดับเพลิง

นายคำพันธ์ พิลาล้ำ
พนักงานดับเพลิง

นายวิทวัฒน์ หินอ่อน
พนักงานดับเพลิง

นายโชคชัย นีระมนต์
พนักงานดับเพลิง

นางราตรี ถนอมทรัพย์
พนักงานจ้างทั่วไป

นางสาวพิศสมัย ดอกพุฒ
พนักงานจ้างทั่วไป

นางสาวอรสา ขันทอง
พนักงานจ้างทั่วไป
หัวหน้าส่วนราชการ

นางสาวนวพรรณ มังคละพลัง
ปลัดเทศบาล
โทร. 093-3265829

นายชาตรี นามวงศ์
หัวหน้าสำนักปลัด
โทร. 088-5944514

นายธนศักดิ์ ชาญเฉลิม
ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข
และสิ่งแวดล้อม
โทร. 099-4768899

นายสุริยา ปลัดอิ่มพะเนาว์
ผู้อำนวยการกองช่าง
โทร. 087-2475418

นางรัตนพร จีรดิษฐ
ผู้อำนวยการกองคลัง
โทร. 093-3216316

นางสาวทรรศนีย์ นนธิจันทร์
ผู้อำนวยการกองการศึกษา
โทร. 065-2292494
อำนาจหน้าที่
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนาเยีย นั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลนาเยีย ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เทศบาลตำบลนาเยีย ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
เทศบาลตำบลนาเยีย กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ( และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาล มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
- รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
- รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฎิกูล
- ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
- ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
- จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- หน้าที่อื่นตามกฎหมายที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาล เทศบาลตำบลอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
- ให้มีโรงฆ่าสัตว์
- ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
- ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
- บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร
- ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
- ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
- เทศพาณิชย์
หน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจ และหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
- การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ําและทางระบายน้ํา.
- การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
- การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
- การสาธารณูปการ
- การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
- การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว
- การจัดการศึกษา
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
- การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- การส่งเสริมกีฬา
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
- การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
- การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
- การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
- การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ
- การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การผังเมือง
- การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ
- การควบคุมอาคาร
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด